Forest : Fundamental of Research in Thailand
เว็บไซต์นี้ เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง การคัดกรองความพร้อมผลงานวิจัยจากฐานข้อมูลการวิจัยที่มีการเชื่อมโยงกับสารสนเทศของประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ด้วยความร่วมมือกับ เครือข่ายมหาวิทยาลัยวิจัย (Research University Network - RUN) และ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) โดยมีที่มาและประเด็นสำคัญของโครงการ ดังนี้
การคัดกรองความพร้อมผลงานวิจัยจากฐานข้อมูลการวิจัยที่มีการเชื่อมโยงกับสารสนเทศของประเทศ
รัฐบาลได้กำหนดวาระการปฏิรูปประเทศขึ้น เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว และนานาประเทศไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยการให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องของการวิจัยและนวัตกรรม เป็นหนึ่งในกลไกการพัฒนาประเทศที่ได้มุ่งเน้นให้มีการปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรม การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศิลปวิทยาแขนงต่างๆ ให้เกิดความรู้และการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจ สังคม และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และคุณภาพชีวิตของประชาชน ที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัย ดังนั้นรัฐบาลจึงได้กำหนดแผนการขับเคลื่อนและปฏิรูประบบวิจัยแบบบูรณาการของประเทศ รวมถึงกรอบยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ 20 ปี เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านการวิจัยและนวัตกรรมในระดับโลก และขับเคลื่อนสังคม เศรษฐกิจ สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน ภายในปี 2579
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในฐานะหน่วยงานหลักในระบบวิจัยได้รับมอบหมายจากรองนายกรัฐมนตรี (พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง) ในฐานะประธานคณะกรรมการบูรณาการบริหารจัดการปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรม ให้มีการขับเคลื่อนและบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมของประเทศทั้งที่มีอยู่เดิมและที่เกิดขึ้นใหม่ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์สูงสุด ในการกำหนดนโยบายสำคัญๆ ของประเทศ นำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมเป้าหมาย ใช้ในการแก้ปัญหาหรือสร้างความเข้มแข็งแก่ภาคสังคมและชุมชน ตลอดจนใช้ในการกาหนดกรอบทิศทางนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมของชาติในอนาคต โดยให้ขับเคลื่อนและบูรณาการทางานร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (Research University Network: RUN) เพื่อคัดกรองผลงานวิจัยที่เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว เพื่อนาไปสู่การนำไปใช้ประโยชน์ในมิติต่าง ๆ ข้างต้น
ดังนั้น เพื่อให้เกิดการบูรณาการดำเนินงานร่วมกันในการขับเคลื่อนและบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ที่ วช. บริหารจัดการอยู่ในปัจจุบันไปสู่การใช้ประโยชน์ ตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างเป็นรูปธรรม วช. จึงได้กำหนดแผนการดาเนินงานร่วมกันกับหน่วยงานเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (Research University Network: RUN) เพื่อคัดกรองผลงานวิจัย วิเคราะห์และจัดกลุ่มหรือระดับของผลงานวิจัยจากฐานข้อมูลการวิจัยที่เสร็จสิ้นสมบูรณ์และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เพื่อให้ได้สรุปภาพรวมสถานภาพของผลงานวิจัยของประเทศ ได้ข้อเสนอเชิงกลไกในการพัฒนานวัตกรรมและบริหารจัดการองค์ความรู้งานวิจัย ได้ข้อเสนอเชิงนโยบายในประเด็นงานวิจัยที่สำคัญต่อการนำไปใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศ รวมถึงเพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมของชาติต่อไ>
ดำเนินการวิเคราะห์ และคัดกรองผลงานวิจัยจากฐานข้อมูลงานวิจัยที่มีการเชื่อมโยงกับสารสนเทศการวิจัยของประเทศ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่ วช.บริหารจัดการให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ จำนวน 172 หน่วยงาน โดยใช้ข้อมูล 10 ปี ย้อนหลัง (ปี 2551- ปี 2560) และดำเนินการคัดกรองตามแนวทางหลักเกณฑ์ ในการคัดกรองความพร้อมของผลงานวิจัย ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มผลงาน ดังนี้
เป็นงานวิจัย/นวัตกรรมที่เสร็จสมบูรณ์ เป็นประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และถูกนำไปใช้แล้ว โดยภาคการผลิตหรือภาคบริการ มีกระบวนการวิจัย ใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีในการวิเคราะห์ทันสมัยตาม มาตรฐานสากล ผลผลิต/ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีมาตรฐาน เพื่อบริการสินค้า มีเอกชนรับถ่ายทอดเทคโนโลยี และ/หรือผลิตจาหน่ายในเชิงพาณิชย์หรือมีการนำไปใช้ในการบริการสังคม ซึ่งมีคุณลักษณะและข้อบ่งชี้ ดังนี้
เป็นงานวิจัย/นวัตกรรมที่เสร็จสมบูรณ์ เป็นประโยชน์ในเชิงพาณิชย์หรือใช้บริการสังคมได้ แต่ยังไม่ถูกนำไปใช้ มีกระบวนการวิจัยใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีในการวิเคราะห์ทันสมัยตามมาตรฐานสากล ผลผลิต/ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีมาตรฐาน เพื่อบริการสินค้านั้น ๆ ซึ่งมีคุณลักษณะและข้อบ่งชี้ ดังนี้
ผลงานวิจัย/นวัตกรรมที่เสร็จสมบูรณ์ ได้เทคโนโลยีต้นแบบ ผลผลิต/ผลิตภัณฑ์ ที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานทางวิชาการในระดับหลังปฏิบัติการ มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในเชิงวิชาการ เป็นข้อมูลพื้นฐานใน การกำหนดเชิงนโยบาย ซึ่งมีคุณลักษณะและข้อบ่งชี้ ดังนี้
เป็นงานวิจัย/นวัตกรรมที่เสร็จสมบูรณ์ พื้นงานวิจัยขั้นฐาน หรืองานประยุกต์ใช้ในเชิงวิชาการ งานวิจัยที่ไม่ได้มุ่งการนาไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม แต่ยังมีประโยชน์ในเชิงวิชาการ ซึ่งมีคุณลักษณะและข้อบ่งชี้ ดังนี้
เป็นงานวิจัย/นวัตกรรมที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ กระบวนการวิจัยไม่มีมาตรฐาน ใช้เครื่องมือการวิจัยขาดความน่าเชื่อถือ ซึ่งมีคุณลักษณะและข้อบ่งชี้ ดังนี้
วิเคราะห์ และสังเคราะห์ภาพรวมของสถานภาพงานวิจัยที่มีอยู่ในฐานข้อมูลงานวิจัยของประเทศ ตามประเด็นดังนี้
วิเคราะห์ และสังเคราะห์ผลลัพธ์จากการคัดกรองใน 4 ประเด็นสาคัญที่มีผลกระทบต่อการพัฒนา ประเทศ พร้อมข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อทิศทางการนาไปใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศในประเด็น ดังต่อไปนี้
นำเสนอผลการคัดกรอง และแสดงกระบวนการและกลไกในการนาส่งผลการคัดกรองงานวิจัย ทั้ง 5 กลุ่ม สู่กลุ่มเป้าหมายผู้ใช้และหรือผู้รับผลงานวิจัยไปขยายผลเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม โดยนำเสนอผลการคัดกรองในรูปแบบต่างๆ รวมถึงฐานข้อมูลผลการคัดกรองงานวิจัยและสามารถนาเสนอในรูปแบบ visualization
ประสานการดำเนินงานร่วมกันกับ วช. หน่วยงานเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (RUN) และคณะกรรมการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เป็นระยะอย่างต่อเนื่องจนเสร็จสิ้นโครงการ ทั้งก่อนเริ่มโครงการคัดกรอง ระหว่างการคัดกรอง และเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ เพื่อนำส่งสารสนเทศที่ได้จากการคัดกรอง
ผลงานวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่อยู่ในฐานข้อมูลงานวิจัยไทย หรือ Thai National Research Repository (TNRR) ซึ่งมีการเชื่อมโยงข้อมูลจากฐานข้อมูลการวิจัยของหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศในปัจจุบัน ไม่น้อยกว่า 70,000 โครงการ ในช่วง 10 ปี ย้อนหลัง (พ.ศ. 2551-2560) ซึ่งมี URL Link ที่สามารถ Link ไปยัง Full text/ abstract ที่เผยแพร่จากหน่วยงานต้นทางได้
ข้อมูลจากระบบบริหารจัดการงานวิจัยของประเทศ หรือ National Research Management System (NRMS) ซึ่งเป็นข้อมูลช่วง 10 ปี ย้อนหลัง (พ.ศ. 2551-2560) ที่มีรายละเอียดของโครงการวิจัยที่ ประกอบด้วย ชื่อโครงการภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ ความสำคัญและที่มาปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค์ คำสาคัญ บทคัดย่อไทย/อังกฤษ งบประมาณการวิจัย ปีที่ได้รับทุน ผลผลิตที่ได้จากการวิจัย สาขาวิชาการ ประเภทของโครงการ ระยะเวลาที่ทำการวิจัย แหล่งทุนวิจัย สถานภาพของโครงการ และชื่อหน่วยงานสังกัดของนักวิจัย
ข้อมูลจากฐานข้อมูลของหน่วยงานเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (Research University Network: RUN) โดยเฉพาะในประเด็นที่ประมวลสังเคราะห์เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายต่อทิศทางการนำไปใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศฯ
ข้อมูลงานวิจัยมุ่งเป้าจากหน่วยงานเครือข่ายบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช.) โดยเฉพาะในประเด็นที่ประมวลสังเคราะห์ เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายต่อทิศทางการนำไปใช้ประโยชน์ในการ แก้ปัญหาและพัฒนาประเทศฯ
ชนิดข้อมูล | แหล่งข้อมูล | เครือข่าย | จำนวนรายการ |
---|---|---|---|
ฐานข้อมูล TNRR | วช. | 158783 | |
ฐานข้อมูล NRMS | วช. | 71174 | |
ข้อมูลการตีพิมพ์ | บทความวิจัย | Scopus.com | 153305 |
ข้อมูลนักวิจัย | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | RUN | 2444 |
ข้อมูลนักวิจัย | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | RUN | 5525 |
ข้อมูลนักวิจัย | มหาวิทยาลัยบูรพา | ทปอ. | 1199 |
ข้อมูลนักวิจัย | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ | ทปอ. | 1955 |
ข้อมูลนักวิจัย | มหาวิทยาลัยขอนแก่น | RUN | 1937 |
ข้อมูลนักวิจัย | มหาวิทยาลัยมหิดล | RUN | 4081 |
ข้อมูลนักวิจัย | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | RUN | 2181 |
ข้อมูลนักวิจัย | มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ | ทปอ. | 327 |
ข้อมูลนักวิจัย | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี | ทปอ. | 844 |
ข้อมูลนักวิจัย | มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ | ทปอ. | 445 |
ข้อมูลนักวิจัย | มหาวิทยาลัยพะเยา | ทปอ. | 582 |
ข้อมูลนักวิจัย | มหาวิทยาลัยทักษิณ | ทปอ. | 483 |
ข้อมูลนักวิจัย | มหาวิทยาลัยศิลปากร | ทปอ. | 1310 |
ข้อมูลนักวิจัย | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | RUN | 2723 |
ข้อมูลนักวิจัย | มหาวิทยาลัยนเรศวร | RUN | 1391 |
ข้อมูลนักวิจัย | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | RUN | 2085 |
ข้อมูลนักวิจัย | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | ทปอ. | 234 |